Home >>> เทศกาลและงานประเพณี >>> เทศกาลและงานประเพณีของจังหวัดภูเก็ต ไปเที่ยวช่วงไหนดี?

เทศกาลและงานประเพณีของจังหวัดภูเก็ต ไปเที่ยวช่วงไหนดี?

เทศกาลญี่ปุ่นรักไทย ครั้งที่ 4
วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2552
ณ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดภูเก็ต

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภูเก็ต จับมือ ชมรมญี่ปุ่น จังหวัดภูเก็ต เชิญเที่ยวงานเทศกาลญี่ปุ่นรักไทย ครั้งที่ 4”ในวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2552 บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี ตั้งแต่เวลา 15.00 – 21.00 น. เพื่อกระชับความสัมพันธ์ไทย ญี่ปุ่นซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตมากว่า 120 ปี

นายเศรษฐพันธ์พุทธานี ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)สำนักงานภูเก็ต เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ตได้ร่วมกับ ชมรมญี่ปุ่นภูเก็ต จัดงาน ญี่ปุ่นรักไทย ครั้งที่ 4” เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายหลังสถานการณ์การปิดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิและปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปีที่ผ่านมาทำให้การเดินทางไปภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นนั้นลดลง ทางททท.สำนักงานภูเก็ตเห็นว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้มีการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นโดยกิจกรรมครั้งนี้มีชาวญี่ปุ่นเดินทางมาร่วมงานเพื่อบริจาคเสื้อผ้าคุณภาพดีเป็นของขวัญให้แก่ชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยวทั่วไป ทั้งยังมีทีมงานภาพยนตร์ซึ่งนำภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2 เรื่องมาฉายในงาน “YUKI NI NEGAUKOTO” และ “BEAT KIDS” โดยจะจัดฉายภาพยนตร์ดังกล่าว ในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 19.00 น. ณ โรงเรียนบ้านเก็ตโฮ่ และในวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2552 บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป

ทาง ชมรมญี่ปุ่น ได้รับการสนับสนุนจาก ททท. สำนักงานภูเก็ต, สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, เจแปนฟาวน์เดชั่น, หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ, สมาคมญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, ฟูจิ ฟิลม์และสายการบินเจแปน แอร์ไลน์นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศปีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงประเทศญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2251 ณ กรุงโตเกียวได้มีการจัดการประชุมระหว่างประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและประเทศญี่ปุ่น Japan – Mekong Foreign Ministers’ Meeting มีความตกลงร่วมกันกำหนด ให้ปีพ.ศ. 2552 เป็น ปีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศญี่ปุ่น ” “Mekong – Japan Exchange Years” เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในหลากหลายสาขา (เช่น การเมือง เศรษฐกิจวัฒนธรรม เยาวชน การท่องเที่ยว ฯลฯ )ให้ก้าวหน้าและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม)

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเรียนรู้แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมสร้างมิตรภาพระหว่างกันภายในงานมีกิจกรรมการละเล่นทั้งของไทยและญี่ปุ่นมากมายให้ร่วมสนุกให้ผู้เข้าร่วมงานทดลองตีกลองญี่ปุ่นอีกทั้งยังมีสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นให้ซื้อกลับบ้านเป็นของที่ระลึกพร้อมทั้งอิ่มอร่อยกับซุ้มอาหารไทย -ญี่ปุ่นอันหลากหลายคาดว่าจะมีผู้ร่วมชมงานจำนวนมาก

กิจกรรมที่โดดเด่นในงาน การแต่งกายชุดกิโมโน เพื่อถ่ายรูปเป็นที่ระลึก และลุ้นรับ ตั๋วเครื่องบินไป-กลับกรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น สายการบิน JAL

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต โทร 076 – 212213, 211036 และ 217138 หรือ ชมรมญี่ปุ่น โทร 076 – 234446

*************************************************************

ประเพณีปล่อยเต่า

ประวัติ / ความเป็นมา
จังหวัดภูเก็ต เป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศประกอบด้วยเกาะบริวาร 33 เกาะ เช่น เกาะสิเหร่ เกาะแก้ว เกาะมะพร้าวเกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะโหลน เกาะเฮ เป็นต้นและถือว่าจังหวัดภูเก็ตนี้มีเต่าขึ้นมาวางไข่ในปีหนึ่งๆ มากพอสมควรเต่าที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำไทยมีประมาณ 5 ชนิด คือ เต่ากระ เต่าตนุหรือเต่าจาระเม็ด เต่าตาแดง เต่าหญ้า และเต่ามะเฟืองจากการที่มีคนนิยมรับประทานไข่เต่ากันมากจึงมีผู้ที่ไปขุดหาไข่เต่าเพื่อนำมาจำหน่ายธรรมดาเต่าจะวางไข่ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์และเต่าจะขึ้นมาวางไข่ในที่ที่เคยมาวางเป็นประจำทุกปีในช่วงนี้จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเฝ้าดูการวางไข่ของเต่าเป็นจำนวนมากจึงเกิดเป็นประเพณีเดินเต่าขึ้นเต่าแต่ละตัววางไข่ในจำนวนที่ไม่เท่ากันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเต่าและความสมบูรณ์แต่ส่วนมากอยู่ในระหว่าง 70 – 120 ฟอง หรืออาจจะมากกว่านั้น ในปีหนึ่งๆ เต่าจะวางไข่ 3 ครั้งคือขึ้นมาวางไข่ครั้งแรก หลังจากนั้นประมาณ 15 วันจะกลับมาวางไข่ในที่เดิมเป็นครั้งที่ 2 และหลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 15 วัน เต่าก็จะขึ้นมาวางไข่เป็นครั้งที่ 3 เต่าจะเริ่มวางไข่ได้เมื่อมีอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าคนนิยมรับประทานไข่เต่ามากขึ้นทำให้ปริมาณเต่าลดลงนอกจากนั้นยังมีคนฆ่าเต่าเพื่อนำเนื้อไปประกอบอาหารรับประทานเหตุการณ์เหล่านี้อาจทำให้เต่าสูญพันธุ์ไปในที่สุดทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตระหนักถึงปัญหาข้อนี้จึงห้ามมิให้มีการทำประมงเต่าทะเลและเต่ากระทะเลทุกชนิดแต่ก็ยังไม่สามารถรักษาพันธุ์ไว้ได้ดังนั้นศูนย์ชีววิทยาทางทะเลภูเก็ตจึงตั้งโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้นโดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากสำนักงานประมงจังหวัดและผู้ประมูลหาดเก็บไข่เต่าทั้งในจังหวัดภูเก็ตพังงา และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มจำนวนเต่าทะเลให้มากขึ้นโดยการรับเลี้ยงและอนุบาลลูกเต่า จนถึงวันที่จะปล่อยลงทะเลนอกจากนั้นยังเป็นการทดลองเลี้ยงเต่าและหาอัตราการเจริญเติบโตของเต่าทะเลชนิดต่างๆเพื่อส่งเสริมอาชีพประมงในการทำฟาร์มเลี้ยงเต่าต่อไปรวมทั้งเป็นการศึกษาการแพร่กระจายและแหล่งหากินของเต่าทะเลชนิดต่างๆโดยติดเครื่องหมายที่เต่าแล้วปล่อยลงทะเลซึ่งเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ต่อไปด้วยเหตุนี้จึงจัดให้มีประเพณีปล่อยเต่าลงทะเลขึ้น และปฏิบัติสืบต่อมาเป็นประจำทุกปี

กำหนดงาน
เดิมนั้นจัดให้มีขึ้นในวันใดวันหนึ่งแล้วแต่ความเหมาะสม โดยกระทำกันที่สถานที่ที่เต่าชอบขึ้นมาวางไข่ต่อมาทางจังหวัดภูเก็ตได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติ และกำหนดให้เป็นวันปล่อยเต่าด้วยสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
การปล่อยเต่านั้นเดิมจัดขึ้นที่หาดป่าตองต่อมาเปลี่ยนมาจัดที่หาดไนยาง ซึ่งเต่าได้ขึ้นมาวางไข่เป็นประจำทุกปีพิธีเริ่มด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัดผู้เป็นประธานในพิธีจะทำการปล่อยเต่าเป็นคนแรกจากนั้นชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนำเต่าเล็กๆ โดยขอจากสถานีประมงหรือบริจาคเงินสมทบทุนโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลตามแต่ศรัทธานำไปปล่อยลงทะเล เต่าที่ปล่อยมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

นอกจากการปล่อยเต่าแล้วยังมีการละเล่นของชาวบ้าน เช่น มวยทะเล รำกลองยาวชักเย่อ และการละเล่นอื่นๆ อีกมากมายนอกจากนี้กรมประมงได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเต่าทะเล และสัตว์ทะเลอื่นๆให้ชมกันในงานด้วย

************************************************

งานท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร
วันที่ 13 มีนาคม 2552
ณ อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก (โคกชนะพม่า) อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

กิจกรรม
การออกร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การจัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร ที่สามารถปกป้องเมืองถลาง จากข้าศึกไว้ได้

สอบถามรายละเอียด
มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร โทร. 0 7621 1281

******************************************************

ประเพณีกินผัก

ประวัติ / ความเป็นมา
ประเพณีกินเจในภาคใต้ของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงมาก มีจัดอยู่ใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดตรังและจังหวัดภูเก็ตโดยชาวภูเก็ตเรียกพิธีกินเจนี้ว่า กินผัก หรือ กินเจซึ่งก็คืออย่างเดียวกัน

เชื่อกันว่าประเพณีกินเจเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในภาคใต้ของไทยจนเมื่อมีจำนวนมากขึ้นงานประเพณีดังกล่าวซึ่งทำสืบเนื่องมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่จึงกลายเป็นประเพณีสำคัญขึ้นและเป็นที่นิยมปฏิบัติของคนทั่วไป

ประวัติประเพณีกินเจ มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ รัตนสถานแดนสุขาวดีได้ตรัสตอบพระโพธิสัตว์มัญชุศรีว่า ดาวพระเคราะห์ทั้ง 7 มีแสงสว่างรุ่งเรืองในเทวพิภพ พร้อมกับประกายพระโพธิสัตว์อีก 2 องค์รวมเป็น 9 องค์ คือ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ ปรากฏเป็นพระอาทิตย์ จีนเรียกว่าไท้เอี้ยงแซ พระศรีรัตนโลกประภาโฆษอิศวรพุทธะ ปรากฏเป็นพระจันทร์จีนเรียกว่า ไท้อิมแซ พระเวปุลลรัตนโลกสุวรรณพุทธะ ปรากฏเป็นดาวอังคารจีนเรียกว่า ฮวยแซ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะปรากฏเป็นดาวพุธ จีนเรียกว่าจุ้ยแซ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ ปรากฏเป็นดาว พฤหัสบดีจีนเรียกว่า บักแซ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ ปรากฏเป็นดาวศุกร์จีนเรียกว่า กินแซพระเวปุลลจันทร์โลกไภสัชชไวฑูรย์พุทธะปรากฏเป็นดาวเสาร์ จีนเรียกว่า โท้วแซ ทั้ง 7 องค์เป็นพระพุทธเจ้าในอดีตและมีพระโพธิสัตว์อีก 2 องค์ คือ พระศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการโพธิสัตว์ปรากฏเป็นดาวราหู จีนเรียกว่า ล่อเกาแซและพระศรีเวปุลลสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นดาวเกตุ จีนเรียกว่าโกยโต้วแซ และเทพเจ้าทั้ง 9 องค์ เรียกว่า เก็าอ๊วง หรือ กิ๋วอ๊วงโดยเทพทุกองค์ถือกำเนิดมาเป็นมนุษย์ตามวันนั้นๆ

กำหนดงาน
ประเพณีกินเจในภาคใต้ทั้งของจังหวัดตรังและจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้นในช่วงเดือน 9 ตามปฏิทินจีน (ประมาณเดือนกันยายน ตุลาคม) โดยเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 – 9 ค่ำ ในทุกปีปีนี้ตรงกับวันที่ 16-25 ตุลาคม 2544 สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
กิจกรรมส่วนใหญ่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเช้าของวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน โดยชาวบ้านผู้ศรัทธาจะมาช่วยกันทำความสะอาดเช็ดถูศาลเจ้าหรือที่ชาวภูเก็ต เรียกว่า อ๊ามจุดไม้จันทน์กำยานเพื่อเตรียมรับการเสด็จของเทพเจ้าทั้ง 9 องค์ คือเก็าอิ้วอ๋องส่วนในช่วงบ่ายเป็นพิธียกเสาลำไผ่ขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่าเสาโกเต๊งหรือ เสาเต็งกอสำหรับแขวนตะเกียง 9 ดวงซึ่งจะเริ่มขึ้นตามฤกษ์ยาม คือตอนเที่ยงคืนมีการประกอบพิธีอัญเชิญยกอ๋องฮ่องเต้ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์ประธานขึ้นที่ศาลเจ้าและอัญเชิญเทพทั้งเก้ามาเป็นเทพประจำพิธีพร้อมกับจุดตะเกียงน้ำมันเก้าดวงชักแขวนไว้ปลายเสาโกเต๊งให้เป็นสัญลักษณ์แห่งดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์สถิตไว้ตลอดเทศกาลกินเจ

ตลอด 9 วัน 9 คืน ของงานเทศกาล ผู้ศรัทธาจะสละกิจโลกียวัตร บำเพ็ญสมาธิถือมังสวิรัติบริโภคแต่ผักผลไม้ งดบริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งผักประเภทหอม กระเทียม และผักซึ่งมีกลิ่นฉุนบางชนิด

หลังจากที่อัญเชิญเทพทั้ง 9 องค์เข้าประทับในศาลเจ้าแล้วก็มีพิธีสวดมนต์ทุกวัน วันละ 3 ครั้งตลอดเทศกาล รวมทั้งมีการอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินเจต่อหน้าแท่นบูชาและทุกคืนก็มีพิธีเดินธูปโดยการนำของ ร่างทรง หรือ ม้าทรงซึ่งร่างทรงหรือม้าทรงดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากเทพเจ้ามาประทับร่างทรงและกระทำทุกอย่างในพิธีโดยผ่านร่างทรงหรือม้าทรง ซึ่งบุคคลผู้จะเป็นม้าทรงหรือร่างทรงได้ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์และเหมาะสมโดยร่างทรงดังกล่าวจะแสดงบุคลิกลักษณะของเทพเจ้าองค์นั้นๆเช่น ไถเซี้ยเห้งเจีย หรือเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้นและถืออาวุธประจำองค์เทพเจ้าแตกต่างกันออกไปโดยขณะประทับร่างทรงก็แสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ เช่นใช้ดาบหรือขวานฟันหลังเป็นแผลไม่ลึกนักใช้ลูกตุ้มเหล็กเหวี่ยงให้ถูกร่างกาย ใช้มีดหรือดาบตัดลิ้นให้เลือดไหลแล้วเขียนกระดาษหรือผ้า เรียกว่า ฮู้โดยร่างทรงไม่แสดงอาการเจ็บปวดเหมือนว่าเทพเจาเหล่านั้นรับความเจ็บปวดแทนร่างทรงกล่าวกันว่าหลังจากการตัดลิ้นไม่นานก็สามารถต่อลิ้นให้ติดได้ดังเดิม

คืนวันขึ้น 3 ค่ำ มีพิธีล้างเกี้ยวขจัดสิ่งอัปมงคลวันต่อมาจึงเป็นพิธีเบิกศาสตราวุธ ทดสอบก่อนเข้าสู่พิธีในวันรุ่งขึ้นอันตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ ซึ่งมักเป็นวันที่เทพเจาประสงค์ออกโปรดสัตว์กรรมการศาลเจ้าจะประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าจะออกไปวัดใดและไปที่ไหนซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่วงเช้า ศาลเจ้าใดมีม้าทรงหรือร่างทรงมากขบวนแห่ก็จะยาวมีเทพเจ้าเป็นร้อยๆ องค์ ขบวนประกอบด้วยธงทิว รถนำ รถตามขบวนเกี้ยวเล็กเกี้ยวใหญ่ ขบวนโหลก๊อฉ่า ได้แก่ ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ ไท้ โล่และกลอง เป็นกลุ่มๆ ละ 5 คน สลับกับเกี้ยวเป็นตอนๆซึ่งอาจทำให้ขบวนยาวเป็นกิโลเมตร

ก่อนเคลื่อนขบวนเทพเจ้าจะเข้าร่างประทับทรงแต่งองค์ทรงเครื่องครบถ้วนถืออาวุธครบมือพร้อมพี่เลี้ยงหรือผู้ติดตามองค์ละอย่างน้อย 1 คนในขบวนมีเกี้ยวอัญเชิญหุ่นพระจีนซึ่งมีคนหามเกี้ยวขนาดเล็กอย่างน้อยเกี้ยวละ 4 คนส่วนเกี้ยวใหญ่มีคนหามไม่น้อยกว่า 10 คนผู้หามเกี้ยวจะเอาผ้าโพกหัวเอาสำลีอุดหูไว้กันเสียงประทัดตลอดเส้นทางเดินโปรดสัตว์ซึ่งมีระยะทางไม่ต่ำกว่า 5 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินประมาณ 2-3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ตลอดทางจะมีผู้ศรัทธาตั้งโต๊ะหมู่บูชา โดยจัดผลไม้ขนม น้ำชา ไว้ถวาย เมื่อเทพเจ้าในร่างม้าทรงเดินผ่านจะเข้าไปรับของถวายเทพเจ้ารับแล้วส่งต่อให้ผู้อื่น หรือใครก็ตามผู้ที่ศรัทธาเชื่อว่าเป็นสิ่งอันเป็นมงคลยิ่งควรแก่การปิติยินดีในเทศกาลกินเจการแสดงออกอย่างหนึ่งของผู้ศรัทธาคือการจุดประทัดเป็นชุดยาวเป็นแพโดยหย่อนให้ประทัดระเบิดบนเกี้ยว

ในการออกโปรดสัตว์ของเทพองค์ต่างๆยังมีการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของม้าทรงกับอาวุธประจำกาย เช่นเอาเข็มแทงทะลุปาก เอามีดฟันตามร่างกาย เป็นต้นแต่สิ่งที่เป็นจุดสนใจของผู้ร่วมงานมากที่สุด คือ การไต่บันไดมีดและการลุยไฟ การลุยไฟนั้นนอกจากร่างทรงเทพแล้ว ผู้ที่กินเจถึงขึ้น เช้งสามารถเดินลุยไฟได้ถือว่าเป็นการเผาผลาญสิ่งไม่ดีออกจากร่างกายและจะไม่มีแผลพุพองใดๆ

ในวันสุดท้ายของการกินเจทางศาลเจาจะจัดพิธี โก๊ยห่านอันเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ให้กับผู้ศรัทธาโดยผู้ที่ไม่กินเจก็สามารถเข้าร่วมพิธีนี้ได้และทางศาลเจ้าอาจจัดเป็นเอกเทศจากการกินเจได้นอกจากนี้ก็มีการปล่อยปลาปล่อยนก ทำบุญตักบาตรและสุดท้ายเป็นการส่งพระกลับสู่สรวงสวรรค์แต่ก่อนการส่งพระกลับที่ศาลเจ้าจะทำพิธีซงเก๊ง คือ การสวดมนต์อ่านรายชื่อผู้ศรัทธาและร่วมกินเจรวบรวมธูปเผาพร้อมกระดาษทองในวันทำพิธีส่งกิ๋วอ๋องไต่เต่วันส่งพระช่วงกลางคืนมีขบวนแห่ผ่านไปทางไหนตลอดทางมีโต๊ะเครื่องถวายเทพเจ้าเมื่อพระจีนในร่างทรงผ่านไปถึงจะจุดประทัดถวายมากน้อยตามกำลังเงิน
วันที่ 10 ของเทศกาล เป็นพิธีลดเสาโกเต๊งคานไม้ไผ่ที่ยกไว้ปลายเสาตั้งแต่วันแรกของเทศกาลผู้ศรัทธาจะได้รับวัตถุมงคลและอัญเชิญหุ่นพระจีนที่นำประดิษฐานในศาลเจ้ากลับคืนเคหสถาน

ประเพณีการกินเจตลอด 9 วัน 9 คืน นั้น แสดงออกถึงศรัทธาของประชาชนผู้ร่วมงาน และเป็นการแสดงถึงความมีจิตเมตตาของผู้ร่วมประเพณีกินเจ

**********************************************************

เทศกาลอาหารทะเล

ประวัติ / ความเป็นมา
วัดภูเก็ตได้รับขนานนามว่า ไข่มุกแห่งทะเลอันดามันมีลักษณะเป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้จุดเด่นที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เกาะภูเก็ตจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คือน้ำทะเลสีเขียวมรกต และผืนทรายที่ขาวสะอาด มีความยาวประมาณ 80 กิโลเมตรนอกจากจะมีชื่อเสียงในด้านความงดงามของทิวทัศน์ธรรมชาติแล้วยังมีอาหารทะเลสดๆ นานาชนิด ให้ผู้ที่มาเที่ยวพักผ่อนเลือดซื้อกันได้มากมาย
ทางจังหวัดภูเก็ตจึงได้จัดงานเทศกาลอาหารทะเลขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2530 และได้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งเป็นที่สนใจของของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติทางจังหวัดภูเก็ตจึงได้จัดเทศกาลอาหารทะเลเป็นประจำทุกปีทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและของดีของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

กำหนดงาน
งานเทศกาลอาหารทะเล จังหวัดภูเก็ต จะจัดขึ้นทุกปีเดือนเมษายนสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
รายละเอียดของงาน คือ
เป็นอยู่ของชาวเล
การประกวดมิสภูเก็ต
การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและอาหารทะเล
การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
มหรสพนานาชนิด

 

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top